Domo-kun Staring
...Welcome to my blog... ยินดีต้อนรับครับ

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


คำเป็น และคำตาย

คำเป็น หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงได้สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
1 .คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
2. คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
3. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ
คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงไม่สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
1. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา)
สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
2. คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ
ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การเขียนจดหมาย

รูปแบบของจดหมาย
                                                                                                                              (ที่อยู่ผู้เขียน)......................
                                                      (วันที่)......................(เดือน)....................(พ.ศ.)......................
(คำขึ้นต้น)...................................
(เนื้อความ)................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
                                                      (คำลงท้าย)...........................................
                                                       ชื่อผู้เขียน)..........................


รูปแบบของคำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย
ในการเขียนจดหมายต้องคำนึงถึงการเขียนคำขึ้นต้น คำลงท้าย และสรรพนามให้ถูกต้อง ดังนี้
ผู้รับ คุณพ่อ,คุณเเม่
คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) ลูก, หนู, ผม, กระผม, ดิฉัน หรือใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพ่อ คุณเเม่
คำลงท้าย ด้วยความเคารพรักอย่างสูง อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การเขียนเรียงความ  

  เรียงความ  เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจ

ตลอดจนความรู้ให้ผู้อ่านได้รับทราบ  เป็นการเขียนที่มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน

เป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกของตนออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้ ความเข้าใจ เป็นผลรวมของการฟัง  การอ่าน การพูด  การเขียน   อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานของการเขียนทั้งมวลไม่ว่าจะเป็นบทความ  นวนิยาย หรืองานเขียนอื่น ๆ  จนมีนักการศึกษาบางท่านได้ให้คำนิยามว่า    เรียงความ คือ ประกาศความมีปัญญาของบุคคลออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

ลักษณะของการเขียนเรียงความที่ดีนั้น ต้องประกอบไปด้วย

1. มีจุดหมายที่แน่นอน และประมวลข้อคิดที่สำคัญ ๆ เข้าสู่จุดหมายนั้นอย่างมีระเบียบ              

2. มีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเรื่อง หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่องเด่นชัด และมีสัมพันธภาพ คือ มีความสัมพันธ์กลมกลืนกับความคิด  ทั้งยังต้องมีสารัตถภาพ คือ การเน้นข้อคิดที่สำคัญ

3. มีสัดส่วนที่เหมาะสม คือ มีข้อความเปิดเรื่อง ปิดเรื่อง และดำเนินเรื่องตามสัดส่วนที่พอเหมาะ อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

                                                   กลุ่มภาษาไทยกลุ่ม 3

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


    
                                    มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก


   มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก อ่านเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

                              แผนผังฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ





โคลงสี่สุภาพซึ่งถือเป็นโคลงแม่บท 
                                          เสียงลือเสียงเล่าอ้าง     อันใด  พี่เอ
                                    เสียงย่อมยอยศใคร             ทั่วหล้า
                                    สองเขือพี่หลับใหล              ลืมตื่น  ฤๅพี่
                                    สองพี่คิดเองอ้า                   อย่าได้ถามเผือ
                                                                                            (ลิลิตพระลอ)